ภาวะข้อมูลท่วมท้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาวะข้อมูลท่วมท้น (อังกฤษ: information overload) หมายถึง ภาวะที่บุคคลประสบความยุ่งยากในการเข้าใจประเด็นและตัดสินใจ อันเนื่องมาจากมีข้อมูลมากเกินไป ทำนองเดียวกับ "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" หรือ "มากหมอมากความ"[1]

ศัพท์นี้ได้รับความนิยม เพราะ อัลวิน ทอฟเลอร์ ใช้ในหนังสือขายดีของตน ชื่อ Future Shock (ค.ศ. 1970) และ เบอร์แทรม กรอส ก็ใช้ในหนังสือของตน ชื่อ The Managing of Organizations (ค.ศ. 1964)[2]

ศัพท์และแนวคิดดังกล่าวนี้ มีมาก่อนอินเทอร์เน็ต[ต้องการอ้างอิง]

ทอฟเลอร์อธิบายศัพท์นี้ โดยเปรียบเทียบว่า ภาวะข้อมูลท่วมท้นคือการได้รับรู้ความรู้สึกมากเกินไป (sensory overload) ในยุคข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ การรับรู้ความรู้สึกมากเกินไปเป็นศัพท์ที่เริ่มใช้ในทศวรรษ 1950[3] และถูกมองว่าเป็นสาเหตุของการไม่มีสมาธิและขาดการตอบสนอง ทอฟเลอร์นิยามภาวะข้อมูลท่วมท้นว่ามีผลกระทบลักษณะเดียวกัน แต่เกิดกับการทำงานทางการรับรู้ในระดับที่สูงกว่า เขาเขียนว่า "เมื่อปัจเจกบุคคลตกอยู่ในภาวะที่สถานการณ์เปลี่ยนอย่างรวดเร็วและอย่างผิดปรกติ หรืออยู่ในบริบทที่ไม่เคยพบประสบมาก่อน...บุคคลนั้นจะมีความแม่นยำในการคาดการณ์ลดลง เขาจะไม่สามารถประเมินอย่างถูกต้องได้อีกต่อไปว่าพฤติกรรมที่มีเหตุผลแบบไหนที่เชื่อใจได้"[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Yang, C.C.; Chen, Hsinchun; Honga, Kay (2003). "Visualization of large category map for Internet browsing". Decision Support Systems. 35 (1): 89–102. doi:10.1016/S0167-9236(02)00101-X.
  2. Gross, Bertram M. (1964). The Managing of Organizations: The Administrative Struggle. p. 856.
  3. An article in Science magazine in 1959 about a conference held in June 1958 at Harvard Medical School mentions that Donald B. Lindsley had given a paper titled "Are there common factors in sensory deprivation, sensory distortion and sensory overload?" "Meetings," in Science, Vol 129, No. 3343, Jan 23, 1959, pp. 221-225.
  4. Future Shock, pp. 350-1 (1970 edition)