วิปลาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิปลาส หรือ วิปัลลาส หมายถึงความรู้เห็นที่คลาดเคลื่อนหรือความรู้เข้าใจอันผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง[1] ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก็ได้ให้ความหมายของวิปลาสไว้ว่า "คลาดเคลื่อนไปจากธรรมดาสามัญ"[2] ซึ่งวิปลาสในทางพระพุทธศาสนานั้นมี 3 ลักษณะคือ

  1. สัญญาวิปลาส คือสัญญาคลาดเคลื่อน รู้หมายผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่นคนตกใจเห็นเชือกเป็นงู
  2. จิตตวิปลาส คือจิตคลาดเคลื่อน ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่นคนบ้าคิดเอาหญ้าเป็นอาหาร
  3. ทิฏฐิวิปลาส คือทิฏฐิคลาดเคลื่อน ความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง โดยเฉพาะเชื่อถือไปตามสัญญาวิปลาส หรือจิตตวิปลาสนั้น เช่นมีสัญญาวิปลาสเห็นเชือกเป็นงู แล้วเกิดทิฏฐิวิปลาส เชื่อหรือลงความเห็นว่าที่บริเวณนั้นมีงูชุม หรือมีจิตตวิลาสว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต้องมีผู้สร้าง จึงเกิดทิฏฐิวิปลาสว่า แผ่นดินไหวเพราะเทพเจ้าบันดาล

ประเภท[แก้]

วิปลาสทั้ง 3 ลักษณะนี้ แต่ละลักษณะ มีทั้งสิ้น 4 ประเภท คือ

  1. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง
  2. วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข
  3. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน
  4. วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม ดังคำว่าของเหม็นบางชนิดออกฤทธิ์เป็นของหอม โลกนี้วิจิตรสวยงามดุจราชรถ

รวมทั้งสิ้นเป็น 12 วิปลาส

อ้างอิง[แก้]

  1. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม 2546.
  2. "พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2010-03-13.