เพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เพลย์สเตชันเน็ตเวิร์ก (อังกฤษ: PlayStation Network หรือมักย่อว่า PSN) เป็นเครือข่ายเกมออนไลน์ของโซนี่ ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้เครื่องเล่นเกมเพลย์สเตชัน 3 หรือ เพลย์สเตชัน 4 และเครื่องเล่นเกมพกพาเพลย์สเตชันพอร์เทเบิล (PSP) สามารถเล่นเกมร่วมกันผู้เล่นคนอื่น ๆ ในเครือข่ายได้[1] รวมถึงเข้าถึงบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์และความบันเทิงดิจิทัล เช่น วีดิโอออนไลน์ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 โซนี่ได้ระงับการให้บริการเพลย์สเตชันเน็ตเวิร์กและเครือข่ายโซนี่ออนไลน์เอนเทอร์เทนเมนต์ เนื่องจากพบว่ามี "ข้อมูลส่วนบุคคลถูกขโมย อันเป็นผลจากการเจาะเข้าระบบอย่างผิดกฎหมาย"[2] ในเวลานั้น เครือข่ายดังกล่าวมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ประมาณ 130 เครื่อง, ซอฟต์แวร์ประมาณ 50 โปรแกรม และผู้ใช้ลงทะเบียนประมาณ 77 ล้านบัญชี[3]

ประวัติ[แก้]

เพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์กแพลต ถูกพัฒนาขึ้นโดย โซนี่ คอมพิวเตอร์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ยุโรป (Sony Computer Entertainment Europe; SCEE) กับ โซนี่ ออนไลน์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ (Sony Online Entertainment : SOE) และจะร่วมกับ Central Station ในอังกฤษ และคาดว่าจะเชื่อมกับ Connect.com

ปี 2006 โซนี่ประกาศเปิดตัวเครือข่ายออนไลน์สำหรับเครื่องเกมเพลย์สเตชัน 3 ในการประชุม PlayStation Business Briefing ในโตเกียว[4] โดยใช้ชื่อชั่วคราวว่า "เพลย์สเตชันเน็ตเวิร์กแพลตฟอร์ม" (PlayStation Network Platform) โซนี่ยังได้ยืนยันว่าบริการดังกล่าวจะเป็นบริการที่เชื่อมต่อตลอดเวลา (always on) [5] ไม่เสียค่าใช้จ่าย[6] และมีความสามารถในการเล่นเกมแบบหลายคนพร้อมกัน[7] รายการความสามารถแบบสมบูรณ์นั้นถูกประกาศในการแถลงข่าวของงานแสดงเกม Tokyo Game Show 2006 ในเวลาที่เครือข่ายดังกล่าวเปิดให้บริการ หน้าจอลงทะเบียนนั้นสามารถเข้าถึงได้ด้วยเครื่องเพลย์สเตชัน 3 หรือ PSP เท่านั้น[8] ในเวลาต่อมา โซนี่ได้เปิดให้ลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์เพลย์สเตชันเน็ตเวิร์กได้

การหยุดการให้บริการเพลย์สเตชันเน็ตเวิร์กในเดือนเมษายน 2554 เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 และกระทบผู้ใช้ที่ลงทะเบียน 77 ล้านคน[9][10] การหยุดการให้บริการนี้ เป็นการหยุดที่ยาวนานที่สุด นับตั้งแต่เริ่มให้บริการในปี 2549[11] ในการสอบสวนกรณีนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์ ได้ให้ปากคำกับคณะอนุกรรมการกำกับการสืบสวนด้านพาณิชย์ อุตสาหกรรม และการค้า ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ว่าโซนี่ใช้ซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache รุ่นเก่าที่ "ไม่ได้ลงแพตซ์ และไม่ได้ติดตั้งไฟร์วอลล์" โดยปัญหาดังกล่าวนี้ได้ "ถูกรายการลงในเว็บบอร์ดสาธารณะที่พนักงานโซนี่คอยติดตามอยู่" สองถึงสามเดือน ก่อนที่จะถูกเจาะระบบรักษาความปลอดภัย โดยกลุ่มสิทธิผู้บริโภคได้กล่าวถึงกรณีนี้ว่า ถ้าเรื่องนี้เป็นความจริงก็ "เป็นเรื่องที่ให้อภัยไม่ได้"[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hirohiko Niizumi, Tor Thorsen (2006-03-15). "PlayStation Network Platform detailed". GameSpot.
  2. "Update on PlayStation Network and Qriocity". 2011 Sony Computer Entertainment America LLC. 2011-04-26. สืบค้นเมื่อ 2011-04-26.
  3. http://www.flickr.com/photos/playstationblog/sets/72157626521862165/
  4. Graft, Kris (2006-03-15). "PSBB: Kutaragi's 10 PlayStation Points". Andre. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.
  5. "PlayStation 3 announced for 2006". GameSpot. 2005-05-16. สืบค้นเมื่อ 2007-04-04.
  6. "Official PlayStation Website — PlayStation Network". 2011 Sony Computer Entertainment America LLC. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.
  7. "Official PlayStation Website — PlayStation Network — Online Gaming". SCEA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-13. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.
  8. "Frequently Asked Questions (FAQs) - How do I set up my PLAYSTATION Network master account or sub account?". SCEA Regional Online Manual. Sony Computer Entertainment America. pp. 1 of 4. สืบค้นเมื่อ 2007-01-19.[ลิงก์เสีย]
  9. http://blog.eu.playstation.com/2011/04/28/playstation-network-and-qriocity-outage-faq/
  10. โซนี่เผย PlayStation Network โดนเจาะข้อมูล ระวังอีเมล-รหัสผ่าน-เครดิตการ์ด เก็บถาวร 2011-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Blognone, 27 เม.ย. 2554
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-06.
  12. PlayStation Network ที่ถูกเจาะ ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีรูรั่วความปลอดภัย และไม่มีไฟร์วอลล์ เก็บถาวร 2011-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เครือข่ายพลเมืองเน็ต, 6 พ.ค. 2554

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]