โรติเฟอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โรติเฟอรา)
โรติเฟอรา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีน - ปัจจุบัน
Philodina
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
อาณาจักรย่อย: Eumetazoa
ไฟลัมใหญ่: Platyzoa
ไฟลัม: Rotifera
Cuvier, 1798
ชั้น
โรติเฟอร์ที่อยู่เป็นโคโลนี

โรติเฟอร์ (อังกฤษ: Rotifer) เป็นชื่อสามัญของสัตว์ใน ไฟลัมโรติเฟอรา (Rotifera) ซึ่งเป็นกลุ่มของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีชื่อสามัญว่าโรติเฟอร์ ส่วนหัวมีขนเซลล์เรียงกันเป็นแผงเรียกว่าโคโรนา มีการพัดโบกของซิเลียดูคล้ายวงล้อหมุน สมมาตรครึ่งซีก มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้นในระยะเอ็มบริโอ มีระบบอวัยวะแบบสัตว์ชั้นสูง มีซีลอมไม่แท้ มีระบบทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract) เป็นพวกแรก ลำตัวยาว โปร่งใส ถ้ามีสีจะมีสีสดใส มีตาเดี่ยวทำหน้าที่รับแสง ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ตัวผู้เล็กกว่าตัวเมียเสมอ บางชนิดมีสารเคลือบผิวหนา คล้ายเป็นเกราะ และมีหนามด้วย เรียกโครงสร้างนี้ว่า ลอริกา มีเท้าสำหรับยึดเกาะ บริเวณคอหอยมีอวัยวะคล้ายฟันเรียกว่า แมสแตกซ์ (Mastax) ตัวอย่างของสัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ไรหมุนหรือหนอนจักร มักอยู่กับพืชน้ำในน้ำจืด หรือมอสในน้ำเค็ม หากินอิสระ บางชนิดเป็นปรสิตบนเหงือกของสัตว์จำพวกกุ้ง-กั้ง-ปู

โรติเฟอร์ที่มีเท้าจะเคลื่อนที่ไปตามพื้นท้องน้ำโดยใช้โคโรนาและเท้าคืบคลาน โรติเฟอร์ที่เป็นแพลงก์ตอนใช้โคโรนาเคลื่อนที่เพียงอย่างเดียว โคโรนาทำหน้าที่พัดอาหารเข้าปาก ใช้แมสแตกซ์บดเคี้ยว แล้วจึงส่งเข้าสู่กระเพาะอาหาร การผสมพันธุ์เป็นแบบปฏิสนธิภายใน เมื่อประชากรน้อย โรติเฟอร์จะสร้างไข่ที่เป็นดิพลอยด์ ซึ่งจะฟักเป็นตัวเมียทั้งหมด จนมีประชากรมากจึงจะสร้างไข่แบบแฮพลอยด์ ที่จะฟักเป็นตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจึงจะผสมพันธุ์กัน ไข่ของโรติเฟอร์ที่เกิดจากการปฏิสนธิมีผนังหนา ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี โรติเฟอร์บางชนิดอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่นบนมอสหรือทรายได้นาน 3-4 ปี โดยไม่มีการผสมพันธุ์

อ้างอิง[แก้]

  • มนตรี แก้วเกิด. สัตววิทยา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 2547

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]